วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime)

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime)





       อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

  

            Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ 

           Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์





สรุป คลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์


    
         

        จากคลิป "จอมโจรในโลกไซเบอร์" ดังกล่าว เราจะทราบได้เกี่ยวกับอาชญากรรมจากการใช้คอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างจากในคลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์นี้ คือ การกรอกรหัสบัตรเครดิตลงในเวปไซต์ปลอมทำให้ถูกจรกรรมเงินในบัตรเครดิต เป็นต้น การบอกประเภทของอาชญากรรมในโลกของคอมพิวเตอร์ จะมี Hacker ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1) White Hat Hacker เป็นบุคคลที่เจาะระบบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ อาจเป็นบุคคลที่คอยช่วยในบริษัทต่างๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ
       2) Black Hat Hacker หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Cracker เป็นบุคคลที่เจาะระบบ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง เพื่อทำให้ระบบเกิดความเสียหายดังเช่นในคลิป คือ บุคคลที่เรียกว่า "Cracker" โดยทำเพื่อหวังผลประโยชน์ในทางที่ผิด
       จากคลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์ จะมีการนำ Animation มาใช้ในการสื่อความหมายให้ได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้ Animation จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าการอ่านอีกด้วย 


วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

CH-02 ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ

ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ

ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ คือ การป้องกันสารสนเทศและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง

1. ความลับ ( Confidentiality ) ) เป็นการรับประกันว่าผู้มีสิทธิ์และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้องค์กรต้องมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความลับ เช่น การจัดประเภทของสารสนเทศ การรักษาความปลอดภัยในกับแหล่งจัดเก็บข้อมูล กำหนดนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยและนำไปใช้ให้การศึกษาแก่ทีมงานความมั่นคงปลอดภัยและผู้ใช้ภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประกอบกับความต้องการความสะดวกสบายในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า โดยการยอมให้สารสนเทศส่วนบุคคลแก่ website เพื่อสิทธิ์สนการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยลืมไปว่าเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถขโมยสารสนเทศไปได้ไม่ยากนัก



2.ความสมบูรณ์ ( Integrity ) ความสมบูรณ์ คือ ความครบถ้วน ถูกต้อง และไม่มีสิ่งแปลกปลอม สารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จึงเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสารสนเทศจะขาดความสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อสารสนเทศนั้นถูกนำไปเปลี่ยนแปลง ปลอมปนด้วยสารสนเทศอื่น ถูกทำให้เสียหาย ถูกทำลาย หรือถูกกระทำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อขัดขวางการพิสูจน์การเป็นสารสนเทศจริง



3.ความพร้อมใช้ ( Availability ) ความพร้อมใช้ หมายถึง สารสนเทศจะถูกเข้าถึงหรือเรียกใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยผู้ใช้หรือระบบอื่นที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นหากเป็นผู้ใช้หรือระบบที่ไม่ได้รับอนุญาต การเข้าถึงหรือเรียกใช้งานจะถูกขัดขวางและล้มเหลงในที่สุด 





คลิปที่ 1 : คนขับรถตู้




       จริยธรรม คือ คนขับรถตู้ไม่มีจริยธรรม เพราะ การที่คนขับรถตู้ ใช้การพูดจาแบบนี้กับผู้โดยสาร เป็นการพูดคุยที่ไม่สุภาพ โดยใช้อารมณ์หงุดหงิดในการสนทนากับผู้โดยสารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
       ศีลธรรม คือ คนขับรถตู้ขาดศีลธรรม เพราะขับรถด้วยความเร็วสูงอาจเป็นอันตรายต่อผู้โดยสารและมีการกระทำที่ไม่รับฟังคำพูดของผู้อื่น มีความเห็นแก่ตัว ขัดแย้งกับผู้โดยสารและไม่กระทำตามคำบอกกล่าวของผู้อื่น อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในภายภาคหน้า
       จรรยาบรรณ คือ คนขับรถตู้ขาดจรรยาบรรณ เพราะ การที่คนขับรถตู้ ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฏหมายทางด่วน โดยทางด่วนจำกัดความเร็วไม่เกิน 120km/hr แต่คนขับรถตู้ในคลิปนี้ ขับด้วยความเร็วสูงถึง 140km/hr และมีการขับรถตู้ที่เลนขวาโดยมีความเห็นแก่ตัว ไม่มีการหลบหลีกรถให้ผู้อื่นที่ขับรถตามหลัง 
                                           


        คลิปที่ 2 : สาวนุ่งผ้าขนหนูเข้า7-11




   จริยธรรม คือ สาวนุ่งผ้าขนหนูเข้า 7-11 ไม่มีจริยธรรม เพราะ การกระทำของผู้หญิงดังกล่าวในคลิปนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สมควร เพราะการแต่งตัวที่ไม่เรียบร้อยและไม่สุภาพในการเข้าร้านสะดวกซื้อ เป็นการที่แต่งตัวล่อแหลมไม่ถูกหลักจริยธรรม
   ศีลธรรม คือ สาวนุ่งผ้าขนหนูเข้า 7-11 ขาดศีลธรรม เพราะ การกระทำของหญิงสาวคนนี้ แต่งตัวล่อแหลม อาจทำให้ผู้อื่นเห็นไม่เหมาะสม ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม 
   จรรยาบรรณ คือ สาวนุ่งผ้าขนหนูเข้า 7-11 ขาดจรรยาบรรณ เพราะการประพฤติของหญิงสาวคนนี้ จงใจที่จะถ่ายคลิปและอัพโหลดผ่านในโลกของ social network โดยไม่เป็นสิ่งไม่เหมาะสมที่ควรจะประพฤติปฏิบัติ เพราะการแต่งตัวไม่เหมาะสมตามกาลเทศะ
     

    คลิปที่ 3 : Social Network 




    ประโยชน์ที่ได้รับจากการชมคลิปเกี่ยวกับ social network ทำให้ได้ทราบความหมาย ข้อดีและข้อเสียของ social network ต่างๆอย่างมากมาย และกฏหมาย เช่นการที่นำรูปของคนอื่นมาใช้เป็นรูปประจำตัวของเราโดยการไม่ขออนุญาต จะเป็นการผิดกฏหมาย เป็นต้น โดยคลิปนี้มีจุดเด่นที่การใช้Animationในการสื่อสาร ให้ผู้ชมได้รับความเข้าใจ จากการรับชมคลิป แทนที่จะเป็นการอ่าน ทำให้สามารถเข้าใจไดง่ายขึ้น


           

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บทที่ 1
จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 จริยธรรม (Ethics)
       – หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล
       – ความสัมพันธของหลักทางศีลธรรม อันได้แก่ ความดีและความชั่วความถูกต้องและไม่ถูกต้อง 
         หรือหน้าที่และกฎเกณฑทางศีลธรรม


ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม
      • จริยธรรม (Ethics)
        - เป็นหลักประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ ไม่บังคับใช้ แต่เกิดจากการปลูกฝังสร้างจิตสำนึก
      • ศีลธรรม   (Morals) 
       - เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ เป็นการประพฤติปฏิบัติในทางศาสนา
      • จรรณยาบรรณ  (Code of Conduct)
       - เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น
      เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง อาจเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ก็ได้

           ดังนั้น “จริยธรรมอันดี” คือ การประพฤติปฏิบัติอันมี “ศีลธรรม” เป็นส่วนประกอบผู้ประกอบอาชีพในด้านต่างๆนอกจากจะต้องมี จริยธรรมอันดีแล้ว ยังต้องปฏิบัติตาม “จรรณยาบรรณ” ของวิชาชีพนั้นๆด้วย


จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
             การนําหลักธรรมจริยธรรมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องชี้นํากิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกด้านจริยธรรมขององค์กรนั่นเอง

        จริยธรรมทางธุรกิจสําคัญอย่างไร
             ความเสียหายต่อองค์กรที่เกิดขึ้น เนื่องจากกาดําเนินธุรกิจโดยไม่มีจริยธรรมเป็นบทเรียนให้องค์กรหันมาให้ความสนใจในด้านนี้มากขึ้น 

        จริยธรรมทางธุรกิจที่สําคัญ  จะทําให้เกิดผลดี 5 ประการ 
           • ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้น
           • การดําเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน
           • เพิ่มผลกําไรให้กับธุรกิจ
           • ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดําเนินการทางกฎหมาย
           • หลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบได้


จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความนิยมใช้อินเทอรเน็ตอย่างแพร่หลาย ทําให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวแบบออนไลน์ได้เป็นจํานวนมาก ความไว้วางใจในระบบสารสนเทศก็มีมากขึ้นทํำให้มีความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม
               ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ทําให้ประเด็นด้านจริยธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดังกล่าว ทําให้กฎหมายล่าสมัย และสังคมเกิดความขัดแย้งกัน โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสําคัญที่เป็นสาเหตุหลัก ได้แก่
           • ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น
           • ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล
           • ความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ข้อมูล
           • ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต


ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม
              ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนในโลก นิยมใช้เครือข่ายประเภท  Peer-ToPeer   ในการอัพโหลดและดาว์นโหลดเพลง ภาพยนตร์และซอต์แวร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั่นคือการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย

               นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถดาวนโหลด E-Book ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถดาว์นโหลดเอกสารประกอบการเรียนได้จากอินเทอร์เน็ต
               
             การแฮกเกอร์เจาะข้อมูลนั้น  เพื่อขโมยข้อมูลของลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในทางผิดกฎหมายเช่น นําไปเปิดบัญชีบัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งเป็นใบแจ้งหนี้จะถูกส่งไปยังเจ้าของข้อมูลโดยที่ตนเองไม่ได้จ่ายตามรายการนั้นเลย
        

จริยธรรมสําหรับผู้ใช้ไอที
           1.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์  (Software Piracy)
           2.  การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
           3.  การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
       

บัญญัติ 10 ประการ ในการใช้คอมพิวเตอร์
           1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทําอันตรายต่อผู้อื่น
           2.  ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
           3.  ต้องไม่สอดแนมไฟล์ คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
           4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการลักขโมย
           5.  ต้องไม่ใช่คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
           6.  ต้องไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์
           7.  ต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม
           8.  ต้องไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
           9.  ต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองเขียนหรือกําลังออกแบบอยู่เสมอ
          10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่พิจารณาดีแล้วว่าเหมาะสม และเคารพต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเสมอ