วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา
(Intellectual Property) 

            ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น





ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
  หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ  อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
  - สิทธิบัตร (Patent)
            สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
ประเภทของสิทธิบัตร รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
            1.สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
            2.สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น

            3.อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น


 - แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Design of Integrated Circuits)
                   แบบผังภูมิของวงจรรวม คือ แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบใดหรือวิธีใดเพื่อให้เห็นถึงการจัด วางให้เป็นวงจรรวม จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Layout design และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง mask work ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ ก็จัดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ด้วยเช่นกัน

  - เครื่องหมายการค้า (Trademark)
               เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้         
    1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น




        2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น




    3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น



    4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด  เป็นต้น 


    - ความลับทางการค้า (Trade Secret)
                ความลับทางการค้า คือ ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับและเป็น ข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้วิธีการที่ เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ ตามปกติแล้วความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองอยู่ตราบเท่าที่ยังเป็น ความลับอยู่ เพราะฉะนั้นสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้าจึงมีอยู่ตลอดไป หากความลับทางการค้านั้นยังไม่มีการเปิดเผย และความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนแต่อย่าง ใด เจ้าของความลับทางการค้าสามารถเลือกที่จะแจ้งข้อมูลความลับทางการค้า คือ เจ้าของความลับทางการค้าอาจนำความลับทางการค้าของตนมาเป็นหลักประกันในการ กู้ยืมเงินกับธนาคารได้


   - ชื่อทางการค้า (Trade Name) 
            ชื่อทางการค้า(Trade Name) หมายถึง ชื่อที่บุคคลใช้ดำเนินธุรกิจ ในกรณีที่มีการใช้ชื่อทางการค้ากับสินค้าหรือบริการใด ชื่อทางการคานั้นจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการด้วย
  - สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)
             สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่บอกแหล่งผลิตของสินค้าดยสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ที่ประกอบด้วยคำว่า มะขามหวานซึ่งบอกว่าสินค้าคืออะไรและคำว่าเพชรบูรณ์ซึ่งบอกแหล่งผลิตมะขามหวานดังกล่าว และยังสื่อให้คน ทั่วไปเข้าใจว่ามะขามหวานดังกล่าวมีคุณภาพสูงมีรสชาติหวานและไม่แฉะอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของมะขามหวานเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะขามและปริมาณน้ำฝนที่พอ เหมาะพอดีในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบกับฝีมือการเพาะปลูกของเกษตรกรชาวเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกรรมวิธีในการปลูกโดยเฉพาะจึงทำให้มะขามที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์มีความหวานมากกว่าท้องถิ่นอื่น ฉะนั้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญสองประการคือ ธรรมชาติกับมนุษย์ในแหล่งหรือท้องที่นั้น 
     โดยธรรมชาตินั้นสร้างสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุดิบให้แก่การผลิตสินค้า ส่วนมนุษย์นั้นใช้ทักษะ ความชำนาญ และภูมิปัญญาในการผลิตสินค้านั้น ทั้งสองปัจจัยจึงได้ก่อให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ ด้วยเหตุนี้ สิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นสิทธิชุมชน หรือสิทธิของกลุ่มคนที่อยู่ในท้องถิ่นที่ผลิตสินค้านั้น



2.  ลิขสิทธิ์ (Copyright)
 หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ไดทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ




Case Study

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

"รู้ทันลิขสิทธิ์"



           จากคลิปข้างต้นนี้ เราจะได้ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะขอที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน




          เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และเมื่อมีการค้าขึ้นมาจะต้องรีบจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
           จากในคลิปดังกล่าว จะได้ความรู้เกี่ยวกับตัวอย่างของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าและบอกความแตกต่างของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การใช้Animation มาสื่อความหมาย ทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการอ่านงตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภท




วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

ภัยคุกคาม ช่องโหว่ และการโจมตี

ภัยคุกคาม ช่องโหว่ และการโจมตี




ภัยคุกคาม


1. ความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล


• เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสารสนเทศขององค์กรได้

• อาจเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากไม่มีประสบการณ หรือขาดการฝึกอบรม หรือคาดเดา เป็นต้น

• ป้องกันภัยคุกคามโดยการให้ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ การฝึกอบรมอย่างสม่ําเสมอ

• มีมาตรการควบคุม



2. ภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา



• ทรัพย์ต้องไม่ได้ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือองค์ทรัพย์กรใดๆ หากต้องการนําแหล่งที่มาของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คือ ทรัพยสินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้ อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะต้องระบุสินดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน


3.การจารกรรมหรือการรุกล้ำ

• การจารกรรม (Espionage) เป็นการที่กระทําซึ่งใช้อุปกรณอิเลคทรอนิกส์หรือตัวบุคคลในการจารกรรมสารสนเทศที่เป็นความลับ
• การรุกล้ำ (Trespass) คือ การกระทําที่ทําให้ผู้อื่นสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อรวมรวมสารสนเทศที่ต้องการโดยไม่ได้รับอนุญาต




4. การกรรโชกสารสนเทศ



• การที่มีผู้ขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นความลับจากคอมพิวเตอร์ แล้วต้องการเงินเป็นค่าตอบแทน เพื่อแลกกับการคืนสารสนเทศนั้นหรือแลกกับการไม่เปิดเผยสารสนเทศดังกล่าว เรียกว่า Blackmail




5. การทําลายหรือทําให้เสียหาย



• เป็นการทําลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอรเว็บไซต์ ภาพลักษณ์ธุรกิจ และทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งอาจเกิดจากผู้อื่นที่ไม่หวังดี หรือแม้กระทั่งจากพนักงานขององค์กรเอง




6. การลักขโมย



• การถือเอาของผูWอื่นโดยผิดกฎหมาย

• เช่น  ทั้งแบบธรรมดาและแบบอิเล็คทรอนิค แล้วยังรวมถึง อุปกรณ์สารสนเทศขององค์กรต่างๆและทรัพยสินทางปัญญาอื่นๆ



7. ซอฟต์แวร์โจมตี



 • เรียกว่า การโจมตีโดยซอฟต์แวร์เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกแบบ ซอฟต์แวร์ให้ทําหน้าที่โจมตีระบบ เรียกว่า Malicious Code หรือ Malicious Software หรือ Malware



8. ภัยธรรมชาติ



•ภัยธรรมชาติต่างๆ สามารถสร้างความเสียหายให้กับสารสนเทศขององค์กรได้ หากไม่มีการป้องกันหรือวางแผนรับมือกับภัยธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรได้อย่างมหาศาล




ช่องโหว่(Vulnerabilities)

ช่องโหว่ (Vulnerabilities) หรือ ความล่อแหลม หมายถึง ความอ่อนแอของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย ที่เปิดโอกาสให้สิ่งที่เป็นภัยคุกคามสามารถเข้าถึงสารสนเทศในระบบได้ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายแก่สารสนเทศหรือแม้แต่การทำงานของระบบ เช่น  ระบบล็อกอินที่ไม่มีกลไกการตรวจสอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ดี ทำให้มิจฉาชีพสามารถคาดเดารหัสผ่านและลักลอบเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อย่างง่ายดาย เป็นต้น
ตัวอย่างช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบ

1. ไม่มีการอัพเดท Anti  Virus อย่างสม่ำเสมอ

2. ระบบปฏิบัติการไม่ได้รับการซ่อมเสริมอย่างสม่ำเสมอ

3. การจัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเครื่องมือค้นหาหรือสอบถามสิทธิ์ในการเข้าระบบที่ใช้ง่ายสะดวก

4. การปรับแต่งคุณคุณสมบัติระบบผิดพลาด 





การโจมตี(Attack)
การโจมตี (Attack) คือ การกระทำบางอย่างที่อาศัยความได้เปรียบจากช่องโหว่ของระบบ เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบเกิดความเสียหาย หรือเพื่อโจรกรรมสารสนเทศ

1.Malware
-โค้ดที่มุ่งร้ายหรือเป็นอันตราย ได้แก่ Virus,worm,Trojan Horse ยังรวมถึง Web scripts

2. Hoaxes 
การปล่อยข่าวหลอกลวง เช่น เรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์มีอยู่จริงและในอีเมล์ข่าวหลอกลวงยังได้แนบโปรแกรมไวรัสไปด้วย ทำให้ผู้รับเมล์ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ทันทีที่เปิดอ่าน

3. Back door หรือ Trap Door 
คือเส้นทางที่จะช่วยผู้โจมตีหรือผู้บุกรุกเข้าสู่ระบบได้โดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบระบบ โดย ไวรัส เวิร์ม และโทรจัน จะเปลี่ยนแปลงค่าบางอย่างให้เกิดช่องโหว่ในระบบ
4. Password  Cracking 
เป็นการบุครุกโดยใช้วิธีการเจาะรหัส เริ้มจากคักลอกไฟล์ SAM ซึ่งเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บรหัสผ่านของผู้ใช้ (Encrypt)  จากนั้นผู้บุกรุกจะจะทำการถอนรหัส (Decrypt) ด้วยอัลกอริธึม จนกว่าจะได้รหัสผ่านที่ถูกต้อง

5. Brute Force Attack เป็นการคาดเดารหัสผ่าน โดยคำนวณหลายๆรอบ (Combination) เพื่อได้กลุ่มรหัสที่ถูกต้อง จึงต้องใช้โปรแกรม Brute Force มาช่วยคำนวณให้เร็วขึ้น การป้องกันการโจมตีจากวิธี นี้คือ การเปลี่ยนรหัสผ่าน ทุกเดือนหรือสัปดาห์

6. Dictionary Attack 
เป็นการคาดเดารหัสที่แคบลง จากคำในพจนานุกรม  สามารถทำได้รวจเร็ว ลักษณะการป้องกัน คือ เพิ่มความยาวรหัสผ่าน หรือตัวอักขระพิเศษให้มากขึ้น



Case Study

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
"ไวรัสคอมพิวเตอร์"





จากการที่ผมได้ดูคลิปนี้จึงได้รู้เกี่ยวกับไวรัสมากมายหลายชนิดที่ทำอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไวรัสคือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในระบบของคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเป็นปกติไวรัสซึ่งมีหลายรูปแบบ
เช่น
             ไวรัส(Virus) คือ สิ่งที่แปลกปลอมที่เข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลากหลายชนิด ก็คล้ายๆกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด นอกจากจะทำลายคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว ยังลุกลามไปเครื่องอื่นอีกด้วย

             หนอน(Worm)   เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวิร์ม เป็นรูปแบบของไวรัสมีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงสุด ในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต

          ม้าโทรจัน(Trojan horse) คือ โปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อแอบแฝงการกระทำบางอย่างในเครื่องของเราจากผู้ที่ไม่หวังดี แต่ม้าโทรจัน จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์หรือโปรแกรมที่มีการใช้ดาว์นโหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน มันต่างจากไวรัสกับเวิร์ม คือ มันสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เรารับมันมาโดยไม่รู้ตัว

          สปายแวร์(Spy ware) คือ โปรแกรมเล็กๆที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่องการใฃ้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่างๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญ เพราะมันจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อยๆ บางตัวทำให้เราใช้อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้เลย

         โปรแกรมแอนตี้ไวรัส(Anti virus) ถ้าจะเปรียบเทียบก็จะเหมือนกับเกราะป้องกันให้กับคอมพิวเตอร์ของเรา จุดประสงค์หลักคือ ยับยั้งและกำจัดไวรัสที่เข้ามาทำลายคอมพิวเตอร์ของเรา มีทั้งโปรแกรมฟรีแวร์และโปรแกรมที่ซื้อต่างๆ

วิธีป้องกันไวรัส
1. หมั่นupdateโปรแกรม Anti virus ไวรัสอยู่เสมอ
2. ระวังการใช้งานอินเทอรเน็ตไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่แปลกๆ
3. scanอุปกรณ์เก็บข้อมูลทุกครั้งที่ใช้งาน


   จากการดูคลิปลักษณะเป็นการอธิบายโดยใช้ animation ให้ได้เข้าใจ จะเข้าใจง่ายกว่าการที่อ่าน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบการอ่าน ซึ่งมีทั้งต้นเหตุและการป้องกัน จึงเหมาะสำหรับหลายๆคนที่ต้องการความรุ้ด้านนี้



วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime)

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime)





       อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

  

            Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ 

           Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์





สรุป คลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์


    
         

        จากคลิป "จอมโจรในโลกไซเบอร์" ดังกล่าว เราจะทราบได้เกี่ยวกับอาชญากรรมจากการใช้คอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างจากในคลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์นี้ คือ การกรอกรหัสบัตรเครดิตลงในเวปไซต์ปลอมทำให้ถูกจรกรรมเงินในบัตรเครดิต เป็นต้น การบอกประเภทของอาชญากรรมในโลกของคอมพิวเตอร์ จะมี Hacker ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1) White Hat Hacker เป็นบุคคลที่เจาะระบบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ อาจเป็นบุคคลที่คอยช่วยในบริษัทต่างๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ
       2) Black Hat Hacker หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Cracker เป็นบุคคลที่เจาะระบบ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง เพื่อทำให้ระบบเกิดความเสียหายดังเช่นในคลิป คือ บุคคลที่เรียกว่า "Cracker" โดยทำเพื่อหวังผลประโยชน์ในทางที่ผิด
       จากคลิปจอมโจรในโลกไซเบอร์ จะมีการนำ Animation มาใช้ในการสื่อความหมายให้ได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้ Animation จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าการอ่านอีกด้วย