ทรัพย์สินทางปัญญา
(Intellectual Property)
(Intellectual Property)
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง
ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์
ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ
โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก
ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ
หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ
กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial
Property)
หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น
ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่
หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้
ดังนี้
- สิทธิบัตร (Patent)
สิทธิบัตร (patent) หมายถึง
หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง
ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์,
โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม
หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ
ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
ประเภทของสิทธิบัตร
รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3
ประเภท คือ
1.สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง
การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น
กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น
วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป
เป็นต้น
2.สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง
การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น
การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
3.อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น
เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร
เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
- แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout
– Design of Integrated Circuits)
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
แบบผังภูมิของวงจรรวม
คือ แบบ แผนผัง
หรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบใดหรือวิธีใดเพื่อให้เห็นถึงการจัด
วางให้เป็นวงจรรวม จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
แบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Layout design และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง mask work ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ
ก็จัดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ด้วยเช่นกัน
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
เครื่องหมายการค้า หมายถึง
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ
ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท
ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่
ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส
มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ
เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ
เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย
บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง
(Certification Mark) คือ
เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ
สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น
เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม
(Collective Mark) คือ
เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม
เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น
ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
- ความลับทางการค้า (Trade
Secret)
ความลับทางการค้า คือ
ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล
ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว
โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับและเป็น
ข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้วิธีการที่
เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ
ตามปกติแล้วความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองอยู่ตราบเท่าที่ยังเป็น
ความลับอยู่ เพราะฉะนั้นสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้าจึงมีอยู่ตลอดไป
หากความลับทางการค้านั้นยังไม่มีการเปิดเผย และความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนแต่อย่าง
ใด เจ้าของความลับทางการค้าสามารถเลือกที่จะแจ้งข้อมูลความลับทางการค้า คือ
เจ้าของความลับทางการค้าอาจนำความลับทางการค้าของตนมาเป็นหลักประกันในการ
กู้ยืมเงินกับธนาคารได้
- ชื่อทางการค้า (Trade Name)
ชื่อทางการค้า(Trade Name) หมายถึง ชื่อที่บุคคลใช้ดำเนินธุรกิจ
ในกรณีที่มีการใช้ชื่อทางการค้ากับสินค้าหรือบริการใด
ชื่อทางการคานั้นจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการด้วย
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
(Geographical Indications)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่บอกแหล่งผลิตของสินค้าดยสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น
เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ที่ประกอบด้วยคำว่า
มะขามหวานซึ่งบอกว่าสินค้าคืออะไรและคำว่าเพชรบูรณ์ซึ่งบอกแหล่งผลิตมะขามหวานดังกล่าว
และยังสื่อให้คน
ทั่วไปเข้าใจว่ามะขามหวานดังกล่าวมีคุณภาพสูงมีรสชาติหวานและไม่แฉะอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของมะขามหวานเพชรบูรณ์
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะขามและปริมาณน้ำฝนที่พอ
เหมาะพอดีในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบกับฝีมือการเพาะปลูกของเกษตรกรชาวเพชรบูรณ์
ซึ่งมีกรรมวิธีในการปลูกโดยเฉพาะจึงทำให้มะขามที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์มีความหวานมากกว่าท้องถิ่นอื่น
ฉะนั้น
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญสองประการคือ
ธรรมชาติกับมนุษย์ในแหล่งหรือท้องที่นั้น
โดยธรรมชาตินั้นสร้างสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุดิบให้แก่การผลิตสินค้า
ส่วนมนุษย์นั้นใช้ทักษะ ความชำนาญ และภูมิปัญญาในการผลิตสินค้านั้น
ทั้งสองปัจจัยจึงได้ก่อให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ
ด้วยเหตุนี้ สิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นสิทธิชุมชน
หรือสิทธิของกลุ่มคนที่อยู่ในท้องถิ่นที่ผลิตสินค้านั้น
2. ลิขสิทธิ์
(Copyright)
หมายถึง
สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ไดทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
Case
Study
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
"รู้ทันลิขสิทธิ์"
จากคลิปข้างต้นนี้ เราจะได้ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะขอที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และเมื่อมีการค้าขึ้นมาจะต้องรีบจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น